วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 


สอบสอน หน่วย ข้าว (สอนวันอังคารเรื่องประเภทของข้าว)






บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 

อาจารย์ได้ตรวจสอบแผนของกลุ่มข้าพเจ้าและบอกว่าต้องแก้ไขส่วนใด
และนำแผนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ในการเขียนแผนที่ถูกต้อง
แผนที่นำมาให้ดูเป็นแผนการสอนแบบโปรเจ็ท ซึ่งอาจารย์ให้ความหมายว่า คณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวๆและเป็นสากล คือมี บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกัน และการตั้งคำถามของผู้สอนควรตั้งคำถามที่ถามแล้วเด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิม มาเชื่อมโยงกับประสบการณืปัจจุบันเป็นสิ่งใหม่ (อาจารย์นัดสอบสอนในครั้งต่อไป) 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 

ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 




อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนแล้วเขียนส่งอาจารย์ กลุ่มของดิฉันสอน หน่วย ข้าว
มีอุปกรณ์ ดังนี้

1. ฟิวเจอร์บอร์ด 2 แผ่น
2. สติ๊กเกอร์ใส 2 แผ่น
3. กระดาษบูส 5 แผ่น
4. ปากกาไวส์บอร์ด 
5. เตาปิ้ง
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มดูแผ่นของตัวเองว่าต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนบ้าง โดยอาจารย์เป็นผู้คอยชี้แนะ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันที่ อังคาร ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 


อาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จึงให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเปิดบล็อกได้มาเพิ่มและแก้ไขURLใหม่ จากนั้นอาจารย์ได้เรียกแต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานแล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมตัวเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคาร ที 31 มกราคม 2555 


นี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ครั้งแรก โดยให้คำแนะนำในการเขียนแผนในขั้นต่างๆและทำmapให้ดูเป็นตัวอย่าง
ากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้ 
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง 
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม 
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้ 
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง 
5. ความจำ 
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ 
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน 
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 24 มกราคม 2555 


อาจารย์ถามเรื่องแผน และบอกว่าหน่วยต่างๆนั้นมาจากสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้มาจากหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผน สาเหตุที่เราจัดประสบการณ์ คือ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ อาจารย์จึงยกเหตุการณ์ขึ้นมาให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถามเพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ และอาจารย์พูดถึงการเขียน Mind Mapping การเขียนนั้นต้องใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อเด็กได้คิดต่อได้ และทำให้เด็กกล้าแสดงออกด้วย เช่น เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง, ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร อาจารย์ถามต่อว่า หน่วยที่ครูเตรียมไว้ทำไม่จึงต้องเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว 



ยกตัวอย่าง เรื่องตัวเด็ก ว่าเราต้องรู้อะไรในตัวเด็กบ้าง
-ต้องรู้ความสามารถของเด็ก
-ต้องรู้ข้อมูลส่วนตัว
-ต้องรู้พัฒนาด้านร่างกายของเด็ก
การใช้คำถามต้องใช้คำถามปลายเปิด ให้เด็กได้คิดแบบอิสระ คิดหลากหลาย โดยจะต้องมีการคิดแบบวิเคราะห์และการคิดแบบสังเคราะห์
- การคิดแบบวิเคราะห์ : จากรายละเอียดใหญ่ไปสู่รายละเอียดย่อย
- การคิดสังเคราะห์ : จากรายละเอียดย่อยไปสู่การนำไปใช้
ประสบการณ์สำคัญของเด็ก ต้องครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา แยกออกเป็นการคิดอีก 2 แบบ
- การคิดเชิงเหตุผล ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์
- การคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของสสวช.มีดังนี้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ตัวชี้วัดมาหนึ่งสาระ คือ สาระที่ 1 จำนวน
ตัวชี้วัด สาระที่ 1 จำนวน
- บอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอาราบิก
- การเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิก
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับ เป็นต้น
อาจารย์ได้สรุปมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์อีกครั้ง และให้ไปถ่ายเอกสารมาตรฐานการเรียนรู้อีกหนึ่งเล่ม