วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2555 


สอบสอน หน่วย ข้าว (สอนวันอังคารเรื่องประเภทของข้าว)






บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 

อาจารย์ได้ตรวจสอบแผนของกลุ่มข้าพเจ้าและบอกว่าต้องแก้ไขส่วนใด
และนำแผนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ในการเขียนแผนที่ถูกต้อง
แผนที่นำมาให้ดูเป็นแผนการสอนแบบโปรเจ็ท ซึ่งอาจารย์ให้ความหมายว่า คณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวๆและเป็นสากล คือมี บวก ลบ คูณ หาร เหมือนกัน และการตั้งคำถามของผู้สอนควรตั้งคำถามที่ถามแล้วเด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิม มาเชื่อมโยงกับประสบการณืปัจจุบันเป็นสิ่งใหม่ (อาจารย์นัดสอบสอนในครั้งต่อไป) 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 

ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 




อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอนแล้วเขียนส่งอาจารย์ กลุ่มของดิฉันสอน หน่วย ข้าว
มีอุปกรณ์ ดังนี้

1. ฟิวเจอร์บอร์ด 2 แผ่น
2. สติ๊กเกอร์ใส 2 แผ่น
3. กระดาษบูส 5 แผ่น
4. ปากกาไวส์บอร์ด 
5. เตาปิ้ง
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มดูแผ่นของตัวเองว่าต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนบ้าง โดยอาจารย์เป็นผู้คอยชี้แนะ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันที่ อังคาร ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 


อาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จึงให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเปิดบล็อกได้มาเพิ่มและแก้ไขURLใหม่ จากนั้นอาจารย์ได้เรียกแต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานแล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมตัวเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคาร ที 31 มกราคม 2555 


นี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ครั้งแรก โดยให้คำแนะนำในการเขียนแผนในขั้นต่างๆและทำmapให้ดูเป็นตัวอย่าง
ากนั้นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิชาต่างๆ คณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ ศิลปะ อาจจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องของรูปทรง ขนาด การนับ และอาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมว่า ตามหลักการเรียนรู้มาตรฐานคณิตศาสตร์มีกี่ข้อ มี 6 ข้อ ซึ่งการจัดจะต้องมีเครื่องมือดังนี้ การหาปริมาตร เครื่องมือ คือ บิกเกอร์ เงิน แต่เงินสำหรับเด็กในปัจจุบันเด็กมีความคุ้นเคยเงินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เวลา เครื่องไม่เป็นทางการ เช่น พระอาทิตย์ ไก่ขัน เป็นต้น เครื่องมือกึ่งทางการ คือเอาไม้มาตั้งแล้วสังเกตว่าพระอาทิตย์อยู่ตรงไหน แล้วจึงค่อยเปรียบเทียบว่าอยู่ตรงนี้จะตรงกับเวลานี้ ถ้าเป็นทางการ คือ นาฬิกา การวัด ถ้าอยู่ในศิลปะอาจจะยากหน่อย และอาจารย์ให้ย้อนกลับไปดูในบล็อกศิลปะว่าที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเองคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวมี 2 แบบ คือ
(1.) แบบเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
(2.) แบบเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ และอาจารย์ถามต่อว่าแล้วแบบผสมผสานมีหรือเปล่า
วัตถุประสงค์ในวิชาการเคลื่อนไหวมีดังนี้ 
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ ทักษะการฟัง 
2. การเป็นผู้นำ ผู้ตาม 
3. บรรยายสร้างเรื่องในวันนี้ 
4. ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง 
5. ความจำ 
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง มี 2 แบบ 
6.1 เคลื่อนไหวพื้อนฐาน 
6.2 เคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเนื้อหาคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมกลางแจ้ง อาจจะให้เด็กเล่นเกมที่สัมพันธ์กับเนื้อหานั้นๆ ขึ้นอยู๋กับครูผู้สอนว่าจะให้เด็กเล่นอะไรคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับ กิจกรรมเกมการศึกษา เช่น ใช้เกมโดมิโน่ จิกซอร์ จับคู่ อาจจจะเป็น รูปภาพกับตัวเลข,ภาพเหมือน,ภาพกับเงา,พื้นฐานการบวก,ความสัมพันธ์ 2 แกน ฯลฯ และอาจารย์ให้ถ่ายเอกสารเกมการศึกษา หรือภาพ เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการสอนเมื่อเราเป็นครูได้งานที่ได้รับมอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้ไปดูในบล็อกศิลปะสิ่งที่เกี่ยวกับการวัดในคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง ให้ไปรวบรวมและลิงก์เข้าบล็อกของตัวเอง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 24 มกราคม 2555 


อาจารย์ถามเรื่องแผน และบอกว่าหน่วยต่างๆนั้นมาจากสาระการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้มาจากหลักสูตร ซึ่งเป็นที่มาของการวางแผน สาเหตุที่เราจัดประสบการณ์ คือ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ อาจารย์จึงยกเหตุการณ์ขึ้นมาให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถามเพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ และอาจารย์พูดถึงการเขียน Mind Mapping การเขียนนั้นต้องใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก เพื่อเด็กได้คิดต่อได้ และทำให้เด็กกล้าแสดงออกด้วย เช่น เราจะพบได้ที่ไหนบ้าง, ถ้าเป็นหนู หนูอยากให้เป็นอะไร อาจารย์ถามต่อว่า หน่วยที่ครูเตรียมไว้ทำไม่จึงต้องเอาตัวเด็กเป็นตัวกลาง ก็เพราะตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเรา ตามหลักสูตรที่มี 4 สาระที่ควรเรียนรู้ คือ ตัวเรา, บุคคลและสถานที่, ธรรมชาติรอบตัว, สิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว 



ยกตัวอย่าง เรื่องตัวเด็ก ว่าเราต้องรู้อะไรในตัวเด็กบ้าง
-ต้องรู้ความสามารถของเด็ก
-ต้องรู้ข้อมูลส่วนตัว
-ต้องรู้พัฒนาด้านร่างกายของเด็ก
การใช้คำถามต้องใช้คำถามปลายเปิด ให้เด็กได้คิดแบบอิสระ คิดหลากหลาย โดยจะต้องมีการคิดแบบวิเคราะห์และการคิดแบบสังเคราะห์
- การคิดแบบวิเคราะห์ : จากรายละเอียดใหญ่ไปสู่รายละเอียดย่อย
- การคิดสังเคราะห์ : จากรายละเอียดย่อยไปสู่การนำไปใช้
ประสบการณ์สำคัญของเด็ก ต้องครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.ด้านร่างกาย
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ
3.ด้านสังคม
4.ด้านสติปัญญา แยกออกเป็นการคิดอีก 2 แบบ
- การคิดเชิงเหตุผล ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์
- การคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของสสวช.มีดังนี้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ตัวชี้วัดมาหนึ่งสาระ คือ สาระที่ 1 จำนวน
ตัวชี้วัด สาระที่ 1 จำนวน
- บอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอาราบิก
- การเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิก
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับ เป็นต้น
อาจารย์ได้สรุปมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์อีกครั้ง และให้ไปถ่ายเอกสารมาตรฐานการเรียนรู้อีกหนึ่งเล่ม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 24 มกราคม 2555 

ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไม่สบาย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วัน อังคาร ที่ 17 มกราคม 2555 

สำหรับในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาออกสังเกตการสอน
(วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1) 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วัน อังคาร ที่ 10 มกราคม 2555 

สำหรับในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากนักศึกษาออกสังเกตการสอน
(วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 1)

บันทึการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 3 มกราคม 2555 


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน หยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2554  



อาจารย์ยกตัวอย่างการทำ Mind Mapping เรื่องลักษณะของนก
ลักษณะของนก
ด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหว-ขนาดเท่ากัน,สีเหมือนกัน,รูปร่างเหมือนกัน
ด้านสติปัญญา-ฟังและปฏิบัติ,แสดงความคิดเห็น,บอกชื่อนกตามที่ครูกำหนด,นับจำนวนลักษณะที่เหมือนกัน วาดรูปนกที่รัก
      จากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มตามกลุ่ม Mind Mapping ในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วให้แต่ละคนในกลุ่มเขียน Mind Mapping กิจกรรมในแต่ละวันของตัวเอง ของดิฉันเรื่อง ประโยชน์และโทษของขยะ
ด้านร่างกาย
- เด็กได้เคลื่อนไหวในการเดินเก็บขยะ
- เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในการเก็บขยะ

ด้านอารมณ์-จิตใจ
-เด็กมีความสนุกในการเก็บขยะ
-เด็กสนุกกับการร้องเพลง
-เด็กแสดงกิจกรรมอย่างอิสระ

ด้านสติปัญญา
- ครูนำเด็กร้องเพลงประโยชน์และโทษของขยะ
- เด็กได้รู้จักจำนวนจากการแบ่งกลุ่ม
- เด็กได้เล่ากิจกรรมที่ทำให้ครูและเพื่อนฟัง

ด้านสังคม
- เด็กได้สนทนาพูดคุยกับเพื่อน
- เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 20 ธันวาคม 2554 


สวัสดีค่ะ การเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายถึง "วิธีการจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ " และจากนั้นก็ได้อธิบายเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับเนื้อหา และวิธีการสอนของแต่ละช่วงอายุ อย่างละเอียดโดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
ก่อนอื่นต้องรู้ "วิธีการเรียนรู้ของเด็ก"(การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติ)
ได้แก่
-รู้พัฒนาการ
-รู้ความต้องการของเด็ก
-รู้ธรรมชาติของเด็ก เช่น การเล่นซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีการสอนคณิตศาสตร์
-โดยสอนจากของจริง + ภาพ + สัญลักษณ์ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่2

วันอังคาร ที่ 13 ธันวาคม 2554 




วันนี้อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกัสนทนาเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีข้อความรู้ดังนี้ 
หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรินนมครึ่งแก้ว เต็มแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กพบคำตอบด้วยตนเอง เช่น กล้วยหนึ่งหวี เด็กกัดกี่คำจึงหมด
3. มีเป้าหมายและการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาการ ความคิดรวบยอด
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ให้เด็กมีส่วนร่วมเกี่ยวกับตัวเลข
9. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่1

วันอังคาร ที่ 6 ธันวาาคม 2554 





- อาจารย์ปฐมนิเทศ
- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตราฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( มาตราฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กในระดับ 3-6 ขวบ)
- สำรวจหนังสือที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์(ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเด็กอนุบาล) มาให้มากที่สุด โดยมี ชื่อผู้แต่ง เลขหมู่ ผู้แต่ง